วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

google application

Google translate
คือ(หมายถึง) โปรแกรมแปลภาษาโดยอ้างอิงสถิติในการแปล (ซึ่งสามารถแปลได้แบบข้อความและทั้งเว็บ) โดยปกติแล้วโปรแกรมส่วนใหญ่จะใช้แนวทางอ้างอิงกฎ และต้องใช้การนิยามคำศัพท์และไวยากรณ์จำนวนมากในการแปล แต่ทีมงาน Google ได้ทำการเพิ่มข้อมูลจำนวนมากให้กับโปรแกรมทั้งภาษาเดียวกันและภาษาปลายทาง และเพิ่มข้อความตัวอย่างการแปลที่แปลโดยมนุษย์ ซึ่งทางทีมงาน Google ได้ใช้เทคนิคเชิงสถิติ ให้โปรแกรมอ้างอิงหลักการ กลุ่มคำ ที่มนุษย์ได้ทำการแปลไว้ โดยทีมงาน Google ได้แจ้งไว้ว่าได้ผลลัทธ์ที่ดีกว่าวิธีเดิม
สาเหตุที่เลือก Google translate
 Google Translate ได้รองรับภาษาถึง 22 ภาษาทั่วโลก คือภาษา ภาษาอาหรับ , ภาษาบัลกาเรีย , ภาษาจีน , ภาษาโครเอเชีย , ภาษาเช็ก , ภาษาเดนมาร์ก , ภาษาดัตช์ , ภาษาฟินแลนด์ , ภาษาฝรั่งเศส , ภาษาเยอรมัน , ภาษากรีก , ภาษาฮินดู , ภาษาอิตาลี , ภาษาเกาหลี , ภาษาญี่ปุ่น , ภาษานอร์เวย์ , ภาษาโปแลนด์ , ภาษาโรมาเนีย , ภาษารัสเซีย , ภาษาสเปน , ภาษาสวีเดน , ภาษาโปรตุเกส และกำลังจะรองรับภาษาไทยในเดือนกุมภาพันธ์นี้แน่นอน
ข้อดี
1.            คำศัพท์เป็นสากลใช่ได้ทั่วโลก
2.            มีคำศัพท์มากมายและรวดเร็วในการค้นหา
3.             Google Translate ได้รองรับภาษาถึง 22 ภาษาทั่วโลก
ข้อเสีย
1.            ต้องมี internet ถึงจะใช้ Google Translate ได้
2.            การแปลเป็นประโยคยังมีความหมายที่ไม่ตรงกับข้อความบางส่วน
หน้าตาของ Google translate

โปรแกรมอื่น ที่มีการทำงานคล้ายกันกับ Application Google translate ที่ยกมาก็คื e-Dic

e-Dic (สุดยอด โปรแกรม แปลภาษา สำหรับ นักท่องเน็ตชาวไทย) : สำหรับโปรแกรมนี้ก็ประกอบด้วย 3 ส่วน ...
ส่วนแรก - เป็นโปรแกรมเหมือนกับ Internet Explorer (IE) ใช้เปิดเข้าหน้า Homepage ตาม Web ต่างๆ ถ้าเลือนเมาส์ไปวางบนคำที่เป็นภาษาอังกฤษจะปรากฏความหมายที่เป็นภาษาไทย
ส่วนที่ 2 - เนื่องจากส่วนแรกเปิดได้เฉพาะไฟล์ที่เป็น HTML (Hypertext Mark-up Language) ตาม Server ที่ต่างๆ จึงมีส่วนนี้ที่ใช้เปิดไฟล์ที่เป็น TXT จากไฟล์ต่างๆในเครื่องขึ้นมา ถ้าเลื่อนเมาส์ไปวางคำที่เป็นภาษาอังกฤษก็จะปรากฏความหมายที่เป็นภาษาไทยเหมือนกัน ส่วนอีกช่องทางขวาทำไว้เพื่อพิมพ์ประโยคภาษาไทย
ส่วนที่ 3 - เป็นโปรแกรม Dictionary เหมือนปกติทั่วๆ ไป ใส่คำที่ต้องการ แล้วจะปรากฏความหมายขึ้นมา
ข้อแตกต่าง Google translate กับ e-Dic
1.            Google translate ต้องใช้ internet แต่ e-Dic ไม่ต้อง
2.            Google translate อัฟเดสตลอดเวลา แต่ e-Dic ต้องโหลดตัวใหม่ๆ มา

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ยุคของคอมพิวเตอร์


ที่ดิฉันกล่าวถึงจะกล่าวโดยสรุปนะค่ะ
คอมพิวเตอร์จะประกอบด้วย ยุคดั้งนี้
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย
ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น
โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
 คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC)
โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5
คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจั

Pipeline

โปรเซสเซอร์

:ปี 1989 Intel ประกาศตัว 80486 ซึ่งเป็นซีพียูแบบ 32 บิต พร้อมเปิดตัวสิ่งที่เรียกว่า ”ไปป์ไลน์”(Pipeline)
:ไปป์ไลน์ช่วยให้ซีพียูสามารถเฟ็ตช์คำสั่งเข้ามาทำงานได้หลาย ๆ คำสั่งในเวลาเดียวกันได้โดยเอ็กซิคิวต์ในแต่ละคำสั่งในแต่ละสัญญาณนาฬิกา (Clock cycle) เรียกการทำงานแบบนี้ว่า “สเกลลาร์” (Scalar)
:ปี 1993 ได้เปิดตัวซีพียูในยุคที่ 5 ที่เรียกว่า “Pentium” โดยนำไปป์ไลน์มาใส่ไว้ในซีพียูถึง 2 ตัว ทำงานแบบขนานพร้อม ๆ กัน โดยไม่ขึ้นต่อกัน ทำให้สามารถเอ็กซิคิวต์ได้ 2 คำสั่งใน 1 สัญญาณนาฬิกา
:เรียกสถาปัตยกรรมนี้ว่า “ซุปเปอร์สเกลลาร์” (Superscalar)
Pipeline
:ไปป์ไลน์ (Pipeline) คือการทำงานแบบคาบเกี่ยวกัน (overlap) โดยการแบ่งซีพียูออกเป็นส่วนย่อย ๆ แล้วแบ่งงานกันรับผิดชอบ
:เดิมไปป์ไลน์เป็นเทคนิคของสถาปัตยกรรมแบบ RISC ต่อมานำมาใช้กับสถาปัตยกรรมแบบCISC
:ภาคเฟ็ตช์คำสั่ง (Instruction Fetch)
:แบ่งเป็นภาคหลัก ๆ คือ
:ภาครับข้อมูล (Get Operands):ภาคเอ็กซิคิวต์ (Execute)
:ภาคการถอดรหัสคำสั่ง (Instruction Decode)
ภาคเขียนผลลัพธ์ (Write Result)

ขั้นตอนการทำงานของ Pipeline 

CPU


ขั้นตอนการทำงานของ CPU
ก่อนที่ CPU จะทำการประมวลผลข้อมูล คำสั่งและข้อมูลจะต้องถูกโหลดมาเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักเสียก่อน 

การประมวลผลคำสั่งของ CPU
หลังจากคำสั่งและข้อมูลอยู่ในหน่วยความจำแล้ว CPU ก็จะทำการประมวลผลที่ละคำสั่ง ใน ขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนการทำงานของ CPU

• จากโปรแกรมที่ประกอบด้วยกลุ่มของคำสั่งที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล แต่ละคำสั่งประกอบด้วย รหัสให้ทำงาน ( OperationCode)
หรือ ออปโค้ด (Opcode) เช่น ADD (การบวก) SUB (การลบ)MUL (การคูณ) DIV (การหาร) และสิ่งที่เรียกว่า โอเปอแรนต์ (Operand)
ซึ่งจะบอกตำแหน่งของที่เก็บข้อมูลในหน่วยความจำ เช่น สัญลักษณ์ Aหรือ B
• ตัวอย่างของคำสั่งหนึ่งๆ ที่มีอยู่ในโปรแกรมภาษาแอสแซมบลี เช่น ADD A,Bหมายถึงให้มีการนำข้อมูลที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำที่ตำแหน่ง และข้อมูลที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำที่ตำแหน่ง มาทำการบวกกัน ซึ่งคำสั่งนี้จะต้องถูกแปลให้เป็นภาษาเครื่อง (MachineLanguage) ก่อนการปฏิบัติงานของซีพียูเสมอ
ภาพแสดงขั้นตอนการทำงานของ CPU

ขั้นตอนการทำงานของ CPU และความสัมพันธ์ในการใช้ Resistor
ขั้นตอนการประมวลผลของ CPU


• การเฟตช์ (Fetch) เป็นกระบวนการที่หน่วยควบคุม (CU) ไปนำคำสั่งที่ต้องการใช้จากหน่วยความจำมาเพื่อการประมวลผลมาเก็บไว้ที่ Register
• การแปลความหมาย ( Decode ) เป็นกระบวนการถอดรหัสหรือแปลความหมายคำสั่งต่างๆ เพื่อส่งไปยังหน่วยคำนวณและตรรกะเพื่อดำเนินการต่อไป
• การเอ็กซ์คิวต์ ( Execute ) เป็นกระบวนประมวลผลคำสั่งโดยหน่วยคำนวณและตรรกะ ซึ่งการประมวลผลจะประมวลผลทีละคำสั่ง
• การจัดเก็บ ( Store ) เป็นกระบวนการจัดเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลและจัดเก็บไว้ในหน่วยความจำหรือรีจิสเตอร์

วัฏจักรการทำงานของซีพียู หรือวัฏจักรเครื่อง (Machine Cycle)
Machine Cycle & การประมวลผลคำสั่งโปรแกรม 

การประมวลผลคำสั่งโปรแกรมระดับเครื่อง (ภาษาเครื่อง) หนึ่งคำสั่ง เกิดขึ้นในระหว่างหนึ่ง Machine Cycle :-
• วัฏจักรคำสั่ง Instruction Cycle (I-cycle) l fetch instruction - control unitรับคำสั่งจากแรม l decode instruction - control unit แปลความหมายคำสั่งโปรแกรม และเก็บส่วนที่เป็น คำสั่ง ของคำสั่งโปรแกรมไว้ใน Instruction Register & เก็บส่วนที่เป็นแอดเดรส ของคำสั่งโปรแกรมไว้ใน Address Register

               เวลาที่ใช้ในการแปลคำสั่ง (Instruction Time) 
เวลาทั้งหมดในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประกอบด้วย ส่วนคือ
การแปลคำสั่ง (fetch and decode) และการประมวลผลคำสั่ง(execute and store)
เวลาที่ใช้แปลคำสั่งเรียกว่า instruction time.

               เวลาที่ใช้ในการประมวลผล เรียกว่า E xecution time. 
           เวลาที่ใช้ประมวลผลแต่ละคำสั่ง (Machine Cycle) 
The combination of I-time and E-time is called the machine cycle
หน่วยวัดความเร็วของซีพียู 
เมกะเฮิรตซ์ ( Megahertz: MHz ) เป็นหน่วยวัดความเร็วของซีพียูในไมโครคอมพิวเตอร์ หรือ Clock Speed ที่มีความเร็วหนึ่งล้านวัฏจักรเครื่องต่อวินาที ( Millions machine cycle per second )
มิปส์ ( Million of Instructions Per Second: MIPS ) เป็นหน่วยวัดความเร็วของซีพียูของคอมพิวเตอร์ขนาดกลางขึ้นไปโดย 1 MIPS จะสามารถประมวลผลได้หนึ่งล้านคำสั่งต่อวินาที ( Million of Instructions Per Second: MIPS )
ฟลอปส์ ( Floating Point Operations Per Second: FLOPS ) เป็นหน่วยวัดความเร็วของซีพียูในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งมักวัดความสามารถในการปฏิบัติการคำนวณทางคณิตศาสตร์แบบทศนิยมหรือ Floating Point
               รูปแบบการประมวลผลของซีพียู
1. การประมวลผลแบบเดี่ยว ( Single processing) หรือ Sequential Processing เป็นการประมวลผลข้อมูลตามลำดับ เนื่องจากมีซีพียูทำงานเพียงตัวเดียว ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การประมวลผลข้อมูลล่าช้า
2. การประมวลผลแบบขนาน ( Parallel processing) เป็นการใช้ซีพียูมากกว่า 1 ตัว ( Multiple Processors ) ในการประมวลผลงานๆ หนึ่งพร้อมกัน โดยซีพียูจะแตก (break down) ปัญหาออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อแบ่งให้ซีพียูแต่ละตัวประมวลผล ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้กับการประมวลผลแบบซีพียูเดียว
และ หลายซีพียูได้ดังภาพ

โครงสร้างของระบบ คอมพิวเตอร์


เราสามารถแบ่งโครงสร้างหลัก ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็น ส่วนดังนี้



1. อินพุต - เอาท์พุต ( Input - Output ) เป็นส่วนของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ติดต่อกับโลกภายนอกโดยรับ-ส่งข้อมูลกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้กลไกภายในตรับไปปฏิบัติโดยผ่านทางอินพุตทำให้ผู้ใช้สามารถรับทราบผลการปฏิบัติงานของเครื่องได้ ตัวอย่างของอุปกรณ์อินพุต ได้แก่ แป้นพิมพ์ ตัวขับดิสก์ เป็นต้น และตัวอย่างของอุปกรณ์เอาท์พุต ได้แก่ จอภาพและเครื่องพิมพ์ เป็นต้น 
2. หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ซีพียู ( Central Processing Unit : CPU ) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้รับมาจากอินพุต
หรือนำเอาข้อมูลจากส่วนอินพุตมาประมวลผล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ การปฏิบัติงานตามคำสั่งหรือการประมวลผลนี้เราเรียกว่าการเอ็กซีคิ้ว
(execute)การเอ็กซีคิ้วชุดคำสั่งหรือโปรแกรมเรียกว่าการรัหรืออาจกล่าวว่าโปรแกรมถูกเอ็กซีคิ้ว
หน่วยประมวลผลกลางเราสามารถแบ่งย่อยลงไปได้อีก ส่วนคือ 
-หน่วยควบคุม ( control unit ) มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ในระบบทั้งหมดให้มีการทำหน้าที่ให้ถูกต้อง 
-หน่วยคำนวณ ( arithmetic logic unit ) มีหน้าที่ในการคำนวณทางด้านคณิตศาสตร์
เช่น บวก ลบ คูณ หาร และงานทางด้านตรรกศาสตร์ เช่น AND OR นอกจากนี้ยังสามารถทำโอเปอร์ชั่นอื่นๆ อีก เช่น การเลื่อนบิต 
( shift ) หรือการทำคอมพลีเมนต์ ( complement ) เพื่อสลับค่าตัวเลขจากบวกเป็นลบ หรือจากลบเป็นบวก 
เช่น -หรือ +เป็นต้น สำหรับหน่วยควบคุมมีหน้าที่ควบคุมการทำงานส่วนต่างๆ เป็นไปตามลำดับขั้นตอนที่ถูกต้อง 
อาศัยเทคโนโลยีก้าวหน้าในปัจจุบัน เราสามารถผลิตซีพียู ลงบนแผงวงจรรวมหรือไอซี (Integrated 
Circuit) ที่มีขนาดเล็ก ๆ ได้ และเราเรียกกันว่าไมโครโปรเซสเซอร์ หรือ โปรเซสเซอร์ 
3.หน่วยความจำ (Memory) เป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อสามารถเก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่คอมพิวเตอร์
ต้องการใช้เอาไว้ ดังนั้นหน่วยความจำจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก ในคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ๆ อาจมีหน่วยความจำขนาดหลายเมกกะไบต์ 
(106 ไบต์) หรือ หลายจิกกะไบต์ (109 ไบต์ ) เราอาจแบ่งหน่วยความจำออกเป็น 2ประเภทใหญ่ คือ 
หน่วยความจำปฐมภูมิ เป็นหน่วยความจำที่ติดต่อกับซีพียูโดยตรงมี ชนิดคือ แบบที่ข้อมูลที่เก็บไว้ไม่สูญหาย
แม้ไม่มีไฟฟ้าป้อน เป็นหน่วยความจำที่เรียกกันทั่วไปว่า รอม ( Read Only Memory : ROM ) ข้อมูลที่เก็บไว้ภายใน
ถูกสร้างขึ้นในขณะที่สร้างหน่วยความจำจากโรงงาน ผู้ผลิต และไม่สามารถแก้ไขได้ (แต่ในปัจจุบันหน่วยความจำประเภทนี้ได้รับการพัฒนา
ให้สามารถบันทึกและลบข้อมูลภายในได้ แต่ต้องอาศัยอุปกรณ์พิเศษเฉพาะหน่วยความจำชนิดนี้ ได้แก่ programmeble ROM 
หรือ PROM และ erasable PROM หรือ EPROM ) ส่วนหน่วยความจำอีกชนิดหนึ่งคือ แรม ( Random
Access Momery , RAM ) ข้อมูลที่เก็บไว้จำเป็นต้องใช้กระแสไฟเพื่อรักษาข้อมูลให้คงอยู่ ถ้าไม่มีกระแสไฟฟ้าข้อมูล
ที่เก็บไว้ก็หายไปหมด 
-หน่วยความจำทุติยภูมิ หน่วยความจำประเภทนี้ เราจะไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยประมวลผล แต่เป็นส่วนหนึ่งของ
อุปกรณ์อินพุต-เอาท์พุตมากกว่า ตัวอย่างของหน่วยความจำ ประเภทนี้ได้แก่ ดิสก์ เทป เป็นต้น 
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการศึกษาระบบปฏิบัติการ การจัดแบ่งโครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์อาจแตกต่างจากที่เคย
พบมา เราจะแบ่งโครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์เป็นดังนี้ 
1. ระบบภายใน ในส่วนนี้ประกอบไปด้วย ซีพียู และหน่วยความจำปฐมภูมิ ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกส่วนนี้ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์
หรือ คอมพิวเตอร์ 
2. ระบบภายนอก ในส่วนนี้คือ ส่วนอุปกรณ์ อินพุต-เอาท์พุต และหน่วยความจำทุติยภูมิ ทั้งหมดนี้เราเรียกว่าเป็นอุปกรณ์
รอบข้าง (peripheral) 
เป็นการแสดงการติดต่อข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งยังคงเหมือนกับ แต่ลดความยุ่งยากลง เพื่อให้ดูเข้าใจง่ายขึ้น ในส่วนของอุปกรณ์
อินพุตจะรับข้อมูล หรือ รับคำสั่ง แล้วส่งให้ซีพียูประมวลผล เมื่อซีพียูมีข้อมูลจะส่งกลับให้ผู้ใช้ ซีพียูจะส่งข้อมูลไปทางอุปกรณ์เอาท์พุต ในการ
ทำงานของซีพียูบางครั้งซีพียูอาจส่งข้อมูลไปเก็บ เอาไว้ในหน่วยความจำทุติยภูมิ เช่น ดิสก์ ในลักษณะนี้ดิสก์จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์เอาท์พุต
และในทำนองเดียวกัน ซีพียูอาจรับหรือต้องการข้อมูลมาจากดิสก์เช่นเดียวกัน ซึ่งในกรณีนี้ดิสก์จะเป็นอุปกรณ์อินพุต นั่นคือ หน่วยความจำ
ทุติยภูมิสามารถเป็นได้ทั้งอุปกรณ์อินพุต และ เอาท์พุตการที่เราแยกหน่วยความจำปฐมภูมิกับหน่วยความจำทุติยภูมิออกกัน 
เนื่องจากว่าหน่วยความจำปฐมภูมินั้น ติดต่อกับซีพียูโดยตรงไม่ต้องผ่านอุปกรณ์อื่น แต่สำหรับหน่วยความจำทุติยภูมิเป็น
อุปกรณ์ภายนอกแยกออกไป และ ข้อสำคัญก็คือ การติดต่อระหว่างอุปกรณ์อินพุต-เอาท์พุตและหน่วยความจำทุติยภูมิต้องมีการอุปกรณ์ช่วยเหลือ

การจัดการหน่วยความจำ
การจัดการหน่วยความจำเป็นหน้าที่อีกประการหนึ่งของ OS หน่วยความจำเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการพิจารณาขีด
ความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำมาก ขีดความสามารถในการทำงานก็จะเพิ่มขึ้นด้วย
โปรแกรมที่มีความสลับซับซ้อนและมีความสามารถมากมักต้องการหน่วยความจำปริมาณมากด้วย แต่หน่วยความจำเป็นทรัพยากร
ที่มีราคาแพง และในเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กหน่วยความจำมีขนาดจำกัด ทำให้เราไม่สามารถขยายขนาดหน่วยความจำได้มากตาม
ที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องใช้หน่วยความจำที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อความสะดวกของผู้ใช้ เราจึงยกงานการจัดการหน่วยความจำนี้ให้
เป็นหน้าที่ของ OS เช่น ตรวจดูว่าโปรแกรมใหม่จะถูกนำไปวางไว้ในหน่วยความจำที่ไหนเมื่อใดหน่วยความจำไหนควรถูก
ใช้ก่อนหรือหลังโปรแกรมไหนจะได้ใช้หน่วยความจำก่อน? 
การจัดการหน่วยความจำของ OS นั้นมีการใช้มาตรการหรือยุทธวิธีในการจัดการอยู่ ประการ 
1. ยุทธวิธีการเฟตซ์ (fetch strategy) 
2. ยุทธวิธีการวาง (placement strategy) 
3. ยุทธวิธีการแทนที่ (replacement strategy) 

การจัดการโปรเซสเซอร์
โปรเซสเซอร์เป็นทรัพยากรประเภทหนึ่งของระบบ ในบางระบบมีโปรเซสเซอร์อยู่เพียงตัวเดียวคือซีพียู แต่ในบางระบบก็มี
โปรเซสเซอร์หลายตัวช่วยซีพียูทำงานเช่น โปรเซสเซอร์ช่วยงานคำนวณ ( math-coprocessor ) และ
โปรเซสเซอร์ควบคุมอินพุต-เอาต์พุต เป็นต้น เนื่องจาก โปรเซสเซอร์มีราคาแพงมากเราจึงควรจัดการให้มีการใช้งานโปรเซสเซอร์
ให้คุ้มค่าที่สุด โดยพยายามให้มันทำงานอยู่ตลอดเวลา เมื่อกล่าวถึงตัวจัดคิวในระยะสั้น ก็คงต้องกล่าวถึงตัวจัดคิวในระยะยาวด้วย
(longterm scheduler)
การทำงานของตัวจัดคิวในระยะยาวมีความแตกต่างกับตัวจัดคิวในระยะสั้นอยู่ในบางส่วน การจัดคิวในระยะสั้นเป็นการจัดคิวในระดับโปรเซส
และทำหน้าที่คัดเลือกโปรเซสในสถานะพร้อมและส่งเข้าไปอยู่ในสถานะรัน ส่วนการจัดคิวในระยะยาวจะเป็นการจัดคิวในระดับ "งาน" 
ไม่ใช่ระดับ "โปรเซส" เมื่อผู้ใช้ส่งงานเข้ามาในระบบ งานเหล่านี้จะเข้าไปรออยู่ในคิวงานเมื่อระบบอยู่ในสภาพพร้อมที่จะรับ
โปรเซสใหม่ได้

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปรับแต่งภาพแบบแปลกๆ ด้วย Filter ใน Photoshop

ทำความรู้จัก Filter กันสักนิด
ฟิลเตอร์ (Filter) คือ เครื่องมือในการปรับแต่งภาพในลักษณะต่างๆ แบบอัตโนมัติ เช่น ภาพนูน (Emboss) เป็นต้น สามารถปรับแต่งได้ภายในคลิกเดียวหรือสองคลิกเท่านั้น ทั้งนี้โฟโต้ชอบได้จัดเตรียมฟิลเตอร์ส่วนหนึ่งให้มาแล้ว โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งเพิ่มเติมแต่ประการใด ใครสนใจก็ลองมาปรับแต่งภาพของเราให้ดูแปลกตา ดูแล้วก็สวยงามไปอีกแบบหนึ่ง


วิธีการเรียกใช้คำสั่ง Filter


1.   เปิดภาพที่ต้องการด้วย Adobe Photoshop

2.   เลือกเมนู Filter
3.   ทดสอบเลือก Filter โดยใช้ชื่อ Artistic
4.   เลือกคำสั่ง Colored Pencil
5.   ให้ดูการปรับแต่งรายละเอียดต่างๆ ของคำสั่ง Colored Pencil ด้านขวามือ  สามารถปรับแต่งรายละเอียดย่อยๆ ได้อีก ทั้งนี้ ขึ้นกับแต่ละ Filter ที่จะเลือก
6.   ลองปรับแต่งเป็น Filter อื่นๆ ดู ถ้าเราไม่ชอบคำสั่งนี้
7.   ถ้าต้องการยกเลิกการทำงานล่าสุด ให้คลิกที่เมนู Edit
8.   เลือกหัวข้อ Undo..
แค่นี้ เราก็จะได้ภาพที่ลักษณะแตกต่างออกไปจากต้นฉบับแล้ว อย่างนี้ต้องทดสอบเลือกแต่ละฟิลเตอร์ดูว่า อย่างไหนถูกใจคุณที่สุด และอย่าลืมหลังจากได้ภาพที่ถูกใจแล้ว ให้เราทำการบันทึกหรือ Save ด้วยน่ะค่ะ.